คุยกับ อ.ณัฐวัฒน์

สมองกับความสุข

สมองกับความสุข
นายไฟเนียส เกจ (PHINEAS GAGE) ชาวอเมริกัน

หัวหน้าคนงานสร้างทางรถไฟในเมืองเวอร์มองท์ ในปี คศ.1848 (เมื่อ 165 ปีก่อน) ขณะที่เขามีอายุ 25 ปี วันหนึ่งที่กำลังใช้ระเบิดเพื่อทำการสร้างทางรถไฟอยู่นั้น แรงระเบิดทำให้เขาถูกท่อนเหล็กขนาด 5 ฟุตแทงเข้าที่บริเวณแก้มซ้ายผ่านเบ้าตาทะลุขึ้นไปทำลายเนื้อสมองส่วนหน้าเขาได้รับการรักษาจนรอดชีวิตและสามารถมีชีวิตอยู่ต่อมากระทั่งเสียชีวิตลงในวัยเพียง 38 ปี ตลอดเวลาหลังจากรอดชีวิต บุคลิกของเขาเปลี่ยนไปจากคนสุภาพเรียบร้อย

รับผิดชอบในหน้าที่การงานเป็นอย่างดี กลับเป็นคนที่มีนิสัยโหดร้าย หยาบคาย นิยมความรุนแรง ไม่แคร์ความรู้สึกของผู้อื่น และมักตัดสินใจผิดพลาดเสมอ


ปัจจุบัน กะโหลกของเขา และท่อนเหล็กยาว 5 ฟุตที่ทำลายสมองส่วนหน้าของเขาที่เป็นสาเหตุทำให้นิสัยของเขาเปลี่ยนไปนั้น ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งโรงเรียนแพทย์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
นายแพทย์แดเนียล ซีเกล (Dr.Daniel Siegel) ได้รวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 9 ประการเกี่ยวกับสมองส่วนหน้า หรือMiddle Prefrontal neocortex ในกรณีที่มนุษย์ได้ฝึกอารมณ์และสร้างนิสัยเชิงบวกโดยเริ่มจากการฝึกความคิดเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง ฝึกสมาธิ ฝึกมองโลกแง่ดี มีอารมณ์ผ่อนคลายและมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ ปรากฎว่าสมองส่วนนี้จะมีขนาดโตขึ้น และมีรูปทรงที่เปลี่ยนแปลงไปตามจิตใจที่พัฒนาอย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องอย่างชัดเจน ดังนี้

ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก

(ระบบประสาทที่คิดเร่งทำงาน) กับระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (ระบบประสาทที่ยับยั้งการทำงาน) ทำให้ระบบการวางแผนการทำงานในชีวิตประจำวันรู้เหตุรู้ผล มีจังหวะที่เหมาะสมถูกต้องมากขึ้น
มีความสามารถในการสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี ทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นได้โดยง่าย มีกัลยาณมิตรมากมีความเห็นอกเห็นใจโดยผ่านกลไกของเซลล์ประสาทที่มีชื่อว่า” เซลล์กระจกเงา” (mirror neuron) ทำให้มีความรักความเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่น เข้าใจผู้อื่นได้ดีควบคุมอารมณ์ไม่ให้เกิดอารมณ์สุดโต่ง หุนหันพลันแล่น มีความสุขุมที่พองามควบคุมความกลัวไม่ให้เกิดความกลัวอย่างไร้เหตุผล หรือตื่นตูมรู้จักยับยั้งชั่งใจ คิดก่อนพูด คิดก่อนทำรู้ทันจิตใจของตนเอง มีความเข้าใจตนเอง รู้ทันจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง มีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจนหยั่งรู้ความรู้สึกของร่างกายโดยเฉพาะเมื่อมีความเครียด สามารถรู้ทันอารมณ์ความรู้สึกของตนเองซึ่งจะช่วยทำให้หายเครียดได้เร็ว ในขณะเดียวกันการหยั่งรู้ความรู้สึกตนเองจะช่วยให้มีความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจผู้อื่นได้ง่าย

ส่งเสริมศีลธรรม ทำให้รู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ได้ อะไรควรหรือไม่ควรด้วยตนเองทั้งต่อหน้าและลับหลังผู้อื่น เป็นคนที่มีความสื่อสัตย์กับตนเองและผู้อื่นสูงมาก ทำให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมในเชิงบวกเสมอในขณะเดียวกันถ้าคนเราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลว อยู่ท่ามกลางผู้คนที่หยาบกระด้างทางอารมณ์ให้เป็นแบบอย่าง ชอบใช้ความรุนแรง ขาดเมตตาและมีแต่ความเห็นแก่ตัว แก่งแย้งกันอยู่เสมอ เมื่อคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมแบบนั้นจะทำให้สมองส่วนหน้ามีขนาดเล็กลง (เหมือนถูกทำลาย) และรูปทรงเปลี่ยนไปในทางที่มักมีพฤติกรรมไปในทางชั่วร้ายได้ง่าย ชีวิตก็จะมีแต่ความยุ่งยากล้มเหลว
ดังนั้น สมองส่วนหน้าหรือ Middle Prefrontal neocortex นี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการฝึกฝนและปฏิบัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้ไว้กับมนุษย์เพื่อเป็นโอกาสในการสร้างกรรมดีหรือจะสร้างกรรมชั่วด้วยตนเอง ซึ่งกรรมหรือผลของการกระทำเหล่านี้จะติดตัวโดยฝังอยู่ในยีนส์ (Gene) ของผู้นั้นไปในภพหน้าด้วยเสมอ ซึ่งธรรมชาติก็มักจะให้โอกาสแก้ตัวอีกจนกว่าผู้นั้นจะอยู่ในหนทางแห่งความดี ฝึกฝนตนเอง ปฏิบัติจนทำให้สมองส่วนหน้าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้วส่งผลต่อบุคลิก นิสัยไปในทางสร้างคุณงามความดี และพัฒนาต่อเนื่องภพแล้วภพเล่าจนหลุดพ้นเป็นอริยบุคคลในที่สุด
นั่นคือเจตนารมณ์ของธรรมชาติหรือจักรวาลที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เรียกว่า “สมดุลธรรมชาติ” หรือ Balance of Nature ครับ.